รับติดฟิล์มอาคาร ฟิล์มนิรภัย ฟิล์มตกแต่งภายใน ฟิล์มฝ้าขาวขุ่น

จิรายุฟิล์มและผ้าม่าน - 2015 ผู้เชี่ยวชาญด้านการติดตั้งฟิล์มอาคาร บ้าน คอนโด
รับติดฟิล์มบ้าน รับติดฟิล์มอาคาร รับติดฟิล์มคอนโด และ สติกเกอร์ฝ้า ทุกยี่ห้อ
บริการผ้าม่าน รับติดตั้งผ้าม่านทุกเเบบ ม่านม้วน ม่านจีบ ม่านโปร่ง กันเเดด กันยูวี

อ่านก่อนตัดสินใจติดฟิล์มกรองแสง

ผู้เชี่ยวชาญด้านฟิล์มกรองแสง (จิรายุฟิล์มอาคารและผ้าม่าน) กับ ประสบการณ์ 18 ปี แห่งวงการอาชีิพรับติดฟิล์มกรองแสง
ตอบทุกคำถามที่สงสัย ????
ให้ข้อมูลที่เป็นจริง
อยากรู้เรื่องฟิล์มกรองแสงเพิ่มเติม

สอบถามได้ที่เบอร์ 081-735-9512 หรือ ID : 0817359512
หรือดูผลงานได้ที่ http://www.ฟิล์มอาคาร.com/contact.php

****** เรื่องควรรู้ก่อนติดฟิล์ม******
ฟิล์มกรองแสงเป็นวัสดุที่ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อใช้ในการควบคุมพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ ผลิตจากพลาสติกชนิดหนึ่งซึ่งทำจากแผ่่นโพลีเอสเตอร์ต่าง ๆ ( PVDG Tedlar Foil Metallized Film Acetate PET Polyolefins and Polycarbonates)
โดยใช้เทคโนโลยีในการเคลือบชั้นฟิล์ม ต่าง ๆ กัน เช่น สี โลหะ กาว สารกันรอยขีดข่วน สารดูดซับรังสี UV UV absorber ซึ่งแผ่นโพลีเอสเตอร์เป็นวัสดุที่เหมาะต่อการผลิตฟิล์มเนื่องจากมีความเหนียว ทนทานยืดหยุนสูง ดูดซับความชื้นน้อย และสามารถทนอุณหภุมิได้ทั้งสูงและต่ำจนทำให้สามารถลดแสงและความร้อนได้ แต่ยังคงความโปร่งใส (Trawsparency) ทำให้สามารถมองเห็นภายนอกได้
****** ฟิล์มกรองแสง กับ ฟิล์มลดความร้อน เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ???? *****

เรามักจะได้ยินมาว่า อาคารมีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธีป้องกันคลื่นความร้อน และให้ในอาคารมีความเย็นสบายในขณะที่อยู่อาศัยเนื่องจากแสงแดดในตอนกลางวัน หรือแม้ในยามค่ำคืนหากไม่เปิดกระจก อบอ้าวอันเกิดจากแสงแดด และ อากาศภายใน ดังนั้น อาคารจำเป็นจะต้องมีฟิล์มกรองแสงหรือ ฟิล์มลดความร้อน และ เครื่องปรับอากาศ ใช้งานกับตัวอาคารที่พักอาศัยของท่าน

ในส่วนของฟิล์มกรองแสง หรือ ฟิล์มลดความร้อนนั้นมีความเหมือนและมีความแตกต่างกันอยู่ในตัวเอง ในอดีต ผู้คนมักจะเรียก วัสดุสีดำ ๆ ที่เป็นพลาสติก มาติดกระจกรถว่าเป็นฟิล์มกรองแสง ต่อมาก็จะมีการเรียกฟิล์มลดความร้อนบ้าง ซึ่งในอย่างหลังนั้นก็คือฟิล์มกรองแสงที่มีคุณสมบัติในการลดคลื่นความร้อนได้มากกว่า ฟิล์มกรองแสงแบบเดิมนั่นเอง ทั้งนี้ จากการที่ได้วิวัฒนาการผลิต
ด้วยเทคโนโลยี สมัยใหม่เช่น SputteringMetallized Coating MetalSelectionCoating etc.

ฟิล์มกรองแสงที่จำหน่ายในตลาดมีมากมายหลายชนิดส่วนใหญ่เป็นฟิล์มยอมสีมีคุณภาพต่ำกันความร้อนน้อยและไม่มีเคลือบสารป้องกันรังสีอุลต้าไวโอเลท แต่ปัจจุบันนี้ด้วยเทคโนโลยีล่าสุดได้กำเนิดฟิล์มกรองแสงยุคใหม่ เป็นฟิล์มแห่งอนาคตเรียกว่า สปัทเตอร์ฟิล์ม ซึ่งสามารถนำเอาโลหะชนิดต่าง ๆ มาเคลือบเป็นเนื้อเดียวกับฟิล์ม ทำให้ฟิล์มมีความคงทนและกันความร้อนได้อย่างดีเยี่ยม

ปัจจุบันฟิล์มเกือบทุกชนิดซึ่งเป็น สปัทเตอรืฟิล์มได้รับการพัฒนา และผลิตขึ้นจากกรรมวิธีดังกว่าที่มีคุณสมบัติกันความร้อนสูงภายใต้สภาพสูญญากาศ ทำให้โลหะเกิดการแตกสภาพเป็นอะตอมซึ่งเป็นอนุภาคที่เล็กที่สุดแล้วแยกตัวลอยไปจับบนแผ่นใส Polyester
ทีละอะตอม ทำให้เกิดแผ่นฟิล์มโลหะบาง ๆ เคลือบอยู่บนผิวของแผ่น Polyester กลายเป้นฟิล์มกรองแสงในยุคปัจจุบัน แผ่นฟิล์มโลหะบาง ๆ นี้เองที่ทำหน้าที่ป้องกันความร้อนได้อย่างอัศจรรย์
ด้วยเทคโนโยีการผลิตเช่นนี้เราสามารถเลือกโลหะที่นำมาใช้เคลือบฟิล์มได้หลากหลายชนิดมาก ทำให้ได้เนื้อฟิล์มที่มีประสิทธิภาพในการลดความร้อนจากแสงแดดจริงได้ดีเยี่ยม อีกทั้งยังให้ความสวยงามมีความทนทานและไม่เปลี่ยนสี

ในปัจจุบันฟิล์มหลายยี่ห้อป้องกันรังสีอุลต้าไวโอเลตหรือ UV จากแสงอาทิตย์ได้เกือบ 100 % ซึ่งมีคุณสมบัติปกป้องสิ่งของภายในอาคารของท่านไม่ให้ซีดจางหรือเสื่อมสภาพเร็วกว่ากำหนด พร้อมทั้งลดอันตรายจากการเกิดมะเร็งผิวหนังและฝ้าบนใบหน้า ถนอมสายตา ฯลฯ
ฟิล์มกรองแสงในยุคปัจจุบันเคลือบด้วยสารเคลือบแข็งป้องกันรอยขูดขีด ทำให้มีความคงทนให้ความปลอดภัย มีประสิทธิภาพสูงกว่าฟิล์มย้อมสีที่มีคุณภาพต่ำ

ประเภทของฟิล์ม กรองแสง

ฟิล์มกรองแสง คือ พลาสติก ทำมาจากโพลีเอสเตอร์ทีมีความเหนียว บาง เรียบ ไร้รอยย่น และสามารถแนบสนิทเป็นเนื้อเดียวกับกระจกที่นำฟิล์มไปติด ซึ่งยึดอยู่บนกระจกได้ด้วยกาวที่มีความใส ไม่ทำให้ภาพที่มอผ่านฟิล์ม บิดเบือน ฟิล์มกรองแสงนั้นทำหน้าที่ในการลดหรือกรองแสงสว่างที่ผ่านเข้ามาทางกระจก ดังนั้นฟิล์มกรองแสงทั่วไปจึงมีการย้อมสีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะการกรองแสงสว่างเท่านั้น แต่ฟิล์มกรองแสงที่มีความสามารถมากกว่าฟิล์มกรองแสงทั่วไป จะต้องลดความร้อนและรังสีอุลต้าไวโอเลตได้เป็นอย่างดี

เราสามารถแบ่งฟิล์มกรองแสงได้เป็น 2 ประเภทคือ

1. ฟิล์มย้อมสี เป็นฟิล์มที่มีคุณสมบัติในการลดแสงสว่างที่ผ่านเข้ามาทางกระจกเท่านั้น แต่ไม่ได้มีคุณสมบัติในการลดความร้อน หรือหากมีก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น และเมื่อมีการใช้งานไปสักระยะ ฟิล์มจะกิดการเปลี่ยนสีเป็นสีม่วงซึ่งทำให้ทัศนะวิสัยผิดเพี้ยน

2. ฟิล์มกรองแสงลดความร้อน หรือฟิล์มเคลือบโลหะเป็นฟิล์มกรองแสงที่มีคุณสมบัติในการลดความร้อนที่ผ่านเข้ามาทางกระจกได้ดีกว่าแบบแรก โดยอาศัยคุณสมบัติของไอโลหะที่นำมาเคลือบ รวมทั้งยังสามารถย้อมสีของฟิล์มให้ฟิล์มมีสีต่าง ๆ ได้ โดยปกติกระบวนการเคลือบไอโลหะมีขั้นตอนที่ซับซ้อน และ ค่าใช้จ่ายสูง

ฟิล์มกรองแสงที่ดีจะต้องพิจารณาจากคุณสมบัติของกาวด้วย กาวที่ดีต้องมีความบางใสและ เหนียว เมื่อติดแล้วต้องทนทานต่อสภาวะความร้อนเย็นของกระจกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ยึดติดกับกระจกได้ดีไม่ทำให้ฟิล์มกรองแสงนั้น ๆ พอง ลอก ล่อน เป็นฟองอากาศ อีกทั้งกาวที่ดีความมีคุณสมบัติที่ติดแน่นกับเนื้อฟิล์ม เมื่อต้องการลอกฟิล์มออกมากาวควรอยู่่ด้านบนฟิล์มมิใช่ด้านกระจกรวมทั้งกาวจะต้องไม่เปลี่ยนสี ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนสีของฟิล์มที่ติด ที่เรียกว่าฟิล์มเป็นสนิมนอกจากนี้ ฟิล์มที่ดีจะต้องป้องกันรอยขีดข่วน หรือเคลือบสารกันรอยขีดข่วน ฟิล์มกรองแสงทำมาจากโพลีเอสเตอร์ มีจุดอ่อนในเรื่องความอ่อนของผิว ซึ่งมักสามารถเป็นรอยเส้นคล้ายรอยขนแมวได้ง่าย เมื่อมีการขีดข่วนจากการใช้งานปกติ แต่ปัจจุบันได้มีการคิดค้นสารเคมีที่ทำหน้าที่เคลือบแข็งบนผิวของฟิล์ม ทำหน้าที่ในการป้องกันการขีดข่วนจากการใช้งานปกติ คุณสมบตินี้ทำให้ฟิล์มมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นและดูสวยงามตลอดอายุการใช้งาน

****** คุณสมบัติของ ฟิล์มกรองแสง******

ฟิล์มกรองแสงปัจจุบันมีให้เลือกมากมาย ทั้งยี่ห้อราคาและคุณภาพ อย่าเด่าคุณภาพจากราคา เพราะบางยี่ห้อมีการปั่นราคาเกินจริง บางยี่ห้อราคาถูกกว่าแต่คุณภาพทัดเทียมหรือดีกว่ายี่ห้อที่แพงกว่า โดยอ้างว่าเป็นี่ห้อนั้นยี่ห้อนี้ ซึ่งยากจะพิสูจน์และทำใจ เพราะไม่สามารถไปเฝ้าตอนที่ช่างติดตั้งได้ ใบรับประกันจะให้มายังไงก็ได้ ยากที่จะพิสูจน์ว่าฟิล์มเป็นี่ห้อตามที่ตกลงไว้หรือไม่
ฟิล์มกรองแสงส่วนใหญ่ จะมียี่ห้อบนแผ่นใสที่ประกบอยู่ตัวฟิล์มซึ่งต้องถูกลอกออกก่อนติด หรือบางยี่ห้อจะเป็นสีที่ลบได้ด้วยแอกอฮอลล์อยู่บนเนื้อฟิล์มด้านผิว

ฟิล์มกรองแสง มี 2 คุณสมบัติหลักคือ

1. ความเข้ม หรือความทึบแสง ซึ่งมีผลต่อการกรองแสง
2. การกรองรังสีความร้อน
สรุปง่าย ๆ ก็คือ การกรองแสง กับกรองความร้อน ร้อน......ฟิล์มสีเข้มกรองแสงดี มองทะลุยาก แต่อาจจะกรองรังสียูวีและความร้อนไม่ดีก็เป็นได้ ส่วนฟิล์มสีอ่อนหรือใสมองทะลุง่าย ก็อาจกรองรังสีและความร้อนได้ดีกว่าก็มี อย่าคิดว่าฟิล์มสีทึบจะต้องกรองความร้อนได้ดีเสมอไป
การลดพลังงานความร้อน

การพิจารณาประสิทธิภาพในการลดความร้อนต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดของพลังงานแสงอาทิตย์ก่อนว่า พลังงานแสงอาทิตย์ ประกอบด้วยรังสี 3 ชนิดคือ

1. รังสีอินฟาเรด (IR) 53%
2. รังสีอุลตร้าไวโอเลต (UV) 3%
3. แสงสว่าง (แสงที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า Visible Light) 44%
ดังนั้นแล้ว

ความร้อนที่เกิดขึ้นจากแสงอาทิตย์ เกิดจากรังสีอินฟราเรดและแสงสว่างรวมกัน มิได้เกิดจากรังสีเพียงชนิดใดชนิดหนึ่ง ดังนั้นฟิล์มที่ลดพลังงานจากรังสีอินฟาเรดได้สูง จึงมิได้หมายความว่าฟิล์มตัวนั้นจะลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ ได้สูง เพราะรังสีอินฟเรดเป็นเพียงส่วนประกอบ (ประมาณ 50% ) ส่วนหนึ่งของพลังงานของแสงอาทิตย์เท่านั้น ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าแต่รู้สึกได้จากความร้อน ฉะนั้นแล้วฟิล์มที่กันความร้อนที่ดี ต้องสามารถป้องกันได้ทั้ง 2 ส่วน นั่นก็คือ ค่าลดความร้อนรวมจากแสงอาทิตย์ (Total Solar Energy Rejected ) จะได้ค่าที่ถูกต้องที่สุด
ดังนั้นหากนำฟิล์มกรองแสงมาทดสอบค่าการลดปริมาณความร้อนจากแสงสปอร์ตไลท์ หรือ แสงจากรังสีอินฟาเรด จะให้ค่าสูงกว่าแสงอาทิตย์ เพราะแสงสปอร์ตไลท์รวมทึ้งแสงจากหลอดรังสีิอินฟาเรด มีปริมาณรังสีอินฟาเรดสูงกว่าในแสงอาทิตย์มาก

โดยทั่วไปฟิล์มที่มีคุณภาพดีเยี่ยมจะป้องกันรังสีอินฟาเรดได้มากกว่า 90% อยู่แล้ว

ส่วนการทดสอบการลดปริมาณความร้อน (ซึ่งมีค่า % ลดรังสีอินฟราเรดรวมกับค่า % การลดความร้อนจากแสงสว่าง ) ควรวัดจากแสงแดดโดยตรงจะได้ผลที่ถูกต้องกว่าการวัดปริมาณความร้อนจากไฟสปอร์ตไลท์ เนื่องจากแหล่งกำเนิดความร้อนทั้งสองมี ส่วนประกอบที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง



ฟิล์มกรองแสง จำเป็นสำหรับเมืองร้อนอย่างไทย แต่ต้องเลือกฟิล์มที่คุ้มค่า ราคาสมเหตุสมผล และต้องไม่สะท้อนมากเกินไป ที่สำคัญ คือ ต้องมีการรับประกันคุณภาพอย่างชัดเจนทั้งเงื่อนไขและเวลา