รับติดฟิล์มอาคาร ฟิล์มนิรภัย ฟิล์มตกแต่งภายใน ฟิล์มฝ้าขาวขุ่น

จิรายุฟิล์มและผ้าม่าน - 2015 ผู้เชี่ยวชาญด้านการติดตั้งฟิล์มอาคาร บ้าน คอนโด
รับติดฟิล์มบ้าน รับติดฟิล์มอาคาร รับติดฟิล์มคอนโด และ สติกเกอร์ฝ้า ทุกยี่ห้อ
บริการผ้าม่าน รับติดตั้งผ้าม่านทุกเเบบ ม่านม้วน ม่านจีบ ม่านโปร่ง กันเเดด กันยูวี

ข้อควรรู้ก่อนติดฟิล์มกรองแสง





จิรายุฟิล์มและผ้าม่าน (2015)
รับติดฟิล์มกรองแสง ฟิล์มบ้าน ฟิล์มอาคาร ฟิล์มคอนโด

ฟิล์มนิรภัย ,ฟิล์มฝ้าขาวขุ่น ,ฟิล์มกรองแสง จิรายุฟิล์มและผ้าม่าน
บ้านนี้ลูกค้าเลือกใช้ฟิล์มกรองแสงสำหรับติดบ้านรุ่นไฮคูล  R-65
 ระดับความเข้ม  60 % แบบมีปรอท
แสงส่องผ่าน 20 % ลดความร้อนจากแสงแดด 82 % กันยูวี 99%
ติดแล้วในบ้านไม่มืดจนเกินไปไมต้องเปิดไฟในเวลากลางวันให้ความเป็นส่วนตัวเพราะคนภายนอกจะมองเข้ามาไม่เห็นภายในแต่เรายังคงมองเห็นภายนอกได้
มองออกไปแล้วสบายตาแนะนำตัวนี้เลย 
                           
โครงสร้างของฟิล์มกรองแสง 
ฟิล์มกรองแสง เป็นวัสดุที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้ในการควบคุมพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์
ผลิตมาจากพลาสติกชนิดหนึ่งซึ่งทำมาจากแผ่นโพลีเอสเตอร์ โดยใช้เทคโนโลยีในการเคลือบชั้นฟิล์ม ต่าง ๆ กันเช่น โลหะ สี กาว สารกันรอยขีดข่วน สารดูดซับรังสี ซึ่งแ่ผ่นโพลีเอสเตอร์สามารถลดแสงและความร้อนได้ แต่ยังคงความโปร่งใส ทำให้สมารถมองเห็นภายนอกได้
ฟิล์มกรองแสง กับ ฟิล์มลดความร้อน เหมือน หรือต่างกันอย่างไร ???

    ในส่วนของฟิล์มกรองแสง หรือฟิล์มลดความร้อนนั้น มีความเหมือนและมีความแตกต่างกันอยู่ในตัวเอง ในอดีตผู้คนมักจะเรียกวัสดุสีดำ ๆ ที่เป็นพลาสติก มาติดกระจกว่า ฟิล์มกรองแสง ต่อมาก็จะมีการเรียกฟิล์มลดความร้อนบ้าง ซึ่งในอย่างอย่างหลังนั้น ก็คือฟิล์มกรองแสง ที่มีคุณสมบัติในการลดคลื่นความร้อนได้มากกว่า ฟิล์มกรองแสงแบบเดิมนั่นเอง ทั้งนี้ จากการที่ได้วิวัฒนาการผลิต ด้วยเทคโนโลยี สมัยใหม่
       ฟิล์มกรองแสงที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาดมีมากมายหลายชนิดส่วนใหญ่เป็นฟิล์มย้อมสีมีคุณภาพต่ำ กันความร้อนน้อย  และไม่มีเคลือบสารป้องกันรังสีอุลต้าไวโอเลท แต่ในปัจจุบันนี้ ด้วยเทคโนโลยีล่าสุดได้กำเนิดฟิล์มกรองแสงยุคใหม่  ซึ่งเป็นฟิล์มแห่งอนาคต เรียกว่า สปัทเตอร์ฟิล์ม  ( Sputter-coated Metallized films)  ซึ่งมีความสามารถนำเอาโลหะชนิดต่าง ๆ มาเคลือบเป็นเนื้อเดียวกับฟิล์ม ทำให้ฟิล์มมีความคงทนและกันความร้อนได้อย่างดีเยี่ยม
     ปัจจุบันฟิล์มเกือบทุกชนิดซึ่งเป็น สปัทเตอร์ ฟิล์มได้รับการพัฒนา และผลิตขึ้นมาจากกรรมวิธีดังกล่าว ที่มีคุณสมบัติกันความร้อนสูงภายใต้สภาพสูญญากาศ ทำให้โลหะเกิดการแตกสภาพเป็นอะตอม ซึ่งเป็นอนุภาคเล็กที่สุด แล้วแยกตัวลอยไปจับบนแผ่นฟิล์มโลหะบาง ๆ นี้เองที่ทำหน้าที่ป้องกันความร้อนได้อย่างน่าอัศจรรย์ ด้วยเทคโนโลยีการผลิตเช่นนี้เราสามารถเลือกโลหะที่นำมาใช้เคลือบฟิล์มได้หลากหลายชนิดมาก ทำให้ได้เนื้อฟิล์มที่มีประสิทธิภาพในการลดความร้อนจากแสงแดดจริงได้ดีเยี่ยม อีกทั้งยังทำให้ความสวยงามมีความทนทานและไม่เปลี่ยนสี
   ฟิล์มกรองแสงในยคุปัจจุบันเคลือบด้วยสารเคลือบแข็งป้องกันรอยขูดขีด ทำให้มีความคงทนให้ความปลอดภัย มีประสิทธิภาพสูงกว่าฟิล์มย้อมสีที่มีคุณภาพต่ำ 
  
ฟิล์ม 3M , ฟิล์มนาโน , ฟิล์มเซรามิค , ฟิล์มนิรภัย , จิรายุฟิล์มและผ้าม่าน
ฟิล์มกรองแสงดำแบบมีปรอทยี่ห้อ 3M  รุ่น  FX-5 โทนสีดำแบบไม่มีปรอท

ระดับความเข้ม 80 % แสงส่องแผ่น  5 % ลดความร้อนจากแสงแดดได้สูงถึง 85%
ในภาพลูกค้าติดที่หลังคาสกายไลท์  คนภายนอกไม่สามารถมองเข้ามาภายในได้แต่เรายังคงมองออกไปเห็นภายนอกได้ชัดเจน    (ยกเว้นเวลากลางคืนน่ะค่ะที่จะต้องใช้ฟิล์มอีก
ประเภทหากต้องการดูวิวในเวลากลางคืน )

ประเภทของฟิล์มกรองแสง


        ฟิล์มกรองแสง คือ พลาสติก ทำมาจากโพลีเอสเตอร์ที่มีความเหนียว บาง เรียบ ไร้รอยย่น และสามารถแนบสนิทเป็นเนื้อเดียวกับกระจกที่นำฟิล์มไปติด ซึ่งยึดอยู่บนกระจกได้ด้วยกาวที่มีความใส ไม่ทำให้ภาพที่มองผ่านฟิล์มบิดเบือน ฟิล์มกรองแสงนั่นทำหน้าที่ในการลด หรือกรองแสงสว่างที่ผ่านเข้ามาางกระจก ดังนั้น ฟิล์มกรองแสงทั่วไปจึงมีการย้อมีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะเฉพาะการกรองแสงสว่างเท่านั้น แต่ฟิล์มกรองแสงที่มีความสามารถมากกว่าฟิล์มกรองแสงทั่วไป จะต้องสามารถลดความร้อนและรังสีอุลต้าไวโอเลตได้เป็นอย่างดี


ฟิล์มบ้าน , ฟิล์มร้านค้า ,ฟิล์มติดร้านกาแฟ ,ฟิล์มไฮคูล , ฟิล์ม 3M , จิรายุฟิล์มและผ้าม่าน
ฟิล์มไฮคูล R-10 HC สีเขียวใส  ระดับความเข้ม 40%
แสงส่องผ่าน 50% ลดความร้อนรวม 60% กันยูวี 99%
สำหรับลูกค้ารายนี้เป็นโชว์รูมเฟอร์นิเจอร์ไม่ต้องการให้ข้างในมืดและต้องการให้คนภายนอกมองเข้ามาเห็นภายใน ต้องการโชว์สินค้า จุดประสงค์ของลูกค้าคือไม่ต้องการให้เฟอร์นิเจอร์ที่วางขายซีดจาง ต้องการลดความร้อนจากแสงแดด ต้องการลดค่าไฟ 



เราสามารถแบ่งฟิล์มกรองแสงได้ 2  ประเภทคือ


1.  ฟิล์มย้อมสี เป็นฟิล์มคุณสมบัติในการลดแสงสว่าง ที่ผ่านเข้ามาในกระจกเท่านั้น แต่ไม่ได้มีคุณสมบัติในการลดความร้อน หรือหากมีก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้นและเมื่อมีการใช้งานไปสักระยะ ฟิล์มจะเกิดการเปลี่ยนสีเป็นสีม่วง ซึ่งทำให้ทัศนวิสัยในการมองผิดเพี้ยน

2 ฟิล์มกรองแสงลดความร้อน หรือฟิล์มเคลือบโลหะ เป็นฟิล์มกรองแสงมีคุณสมบัติในการลดความร้อนทีผ่านเข้ามาทางกระจกได้ดีกว่าแบบแรก โดยอาศัยคุณสมบัติของไอโลหะที่เคลือบบนฟิล์มในการกรองความร้อนและสะท้อนความร้อน ซึ่งมีผลให้ความร้อผ่านเข้ามาทางกระจกได้น้อยลง สีของฟิล์มที่ได้จะแตกต่างไปตามประเภทของไอโลหะที่นำมาเคลือบ รวมทั้งยังสามารถย้อมสีของฟิล์มเพื่อให้ฟิล์มมีสีต่าง ๆ ได้โดยปกติกระบวนกรเคลือบไอโลหะมีขั้นตอนที่ซับซ้อนและค่าใช้จ่ายสูง

  ฟิล์มกรองแสงที่ดีจะต้องพิจารณาจากคุณสมบัติของกาวด้วย กาวที่ดีต้องมีความบางใส และเหนียว เมื่อ ติด แล้ว ต้องทนทานตอสภาวะความร้อนเย็นของกระจกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ยึดติดกับกระจกได้ดีไม่ทำให้ฟิล์มกรองแสงนั้น ๆ พอง ลอก ล่อน เป็นฟองอากาศ อีกทั้งกาวที่ดีควรมีคุณสมบัติที่ติดแน่นกับเนื้อฟิล์ม เมื่อต้องการลอกฟิล์มออกมา กาวควรอยู่ด้านบนของฟิล์มมิใช่ด้านกระจก รวมทั้งกาวจะต้องไม่เปลี่ยนสี ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสีของฟิล์มที่ติด ที่เรียกว่าฟิล์มเป็นสนิม  นอกจากนี้ ฟิล์มที่ดีจะต้องป้องกันรอยขีดข่น หรือเคลือบสารกันรอยขีดข่วน ฟิล์มกรองแสงทำมาจากโพลีเอสเตอร์ มีจุดอ่อนในเรื่องความอ่อนของผิว ซึ่งมักสามารถเป็นรอยเส้นคล้ายขนแมวได้ง่าย  เมื่อมีการขีดข่วนจาการใช้งานปกติแต่ปัจจุบันได้มีการคิดค้นสารเคมีที่ทำหน้าที่เคลือบแข็งบนผิวของฟิล์ม ทำหน้าที่ในการป้องกันการขีดข่วนจากการใช้งานปกติ คุณสมบัตินี้ทำให้ฟิล์มมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นและดูสวยงามตลอดอายุการใช้งาน
  ฟิล์มกรองแสงมี 2  คุณสมบัติหลัก คือ
1. ความเข้ม หรือความทึบแสง ซึ่งมีผลต่อการกรองแสง
2. การกรองแสงรังสีความร้อน

สรุปง่าย ๆ ก็คือ การกรองแสงกับกรองความร้อน ฟิล์มสีเข้มกรองแสงดี มองทะลุยาก แต่อาจจะกรองรังสียูวีและความร้อนไม่ดีก็เป็นได้ ส่วนฟิล์มสีอ่อนหรือใสมองทะลุง่าย ก็อาจกรองรังสีและความร้อนได้ดีกว่าก็มี อย่าคิดว่าฟิล์มสีทึบจะต้องกรองความร้อนได้ดีเสมอไป


ฟิล์มนิรภัย,ฟิล์มฝ้าขาว,สติ๊กเกอร์ฝ้าขาวขุ่น,ฟิล์มกรองแสง 3M,จิรายุฟิล์มและผ้าม่าน

ฟิล์มกรองแสงไฮคูล 80% กันยูวี 99%
มองจากภายนอกจะเป็นสีดำเหลือบเขียว มองจากภายในจะ
มีสีอมเขียว เนื่องจากกระจกของลูกค้ามีสีเขียวเวลาติดฟิล์มเข้าไปที่กระจกจะทำให้กระจกมีสีเขียวมากขึ้น ดูแล้วสบายตา
การลดพลังงานความร้อน
 การพิจารณาประสิทธิภาพในการลดความร้อนต้องทำความ เข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดของพลังงานแสงอาทิตย์ก่อนว่าพลังงานแสงอาทิตย์ ประกอบด้วย
รังสี 3  ชนิดคือ
 รังสีอินฟราเรด ( IR ) 53%
รังสีอุลตร้าไวโอเลต (UV) 3%
แสงสว่าง (แสงที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า Visble Light ) 44%
  
ดังนั้นแล้ว
ความร้อนที่เกิดขึ้นจากแสงอาทิตย์ เกิดจากรังสีอินฟราเรดและแสงส่ว่างรวมกัน มีได้เกิดจากรังสีเพียงชนิดหนึ่ง ดังนั้นฟิล์มที่ลดพลังงานากรังสี อินฟราเรดได้สูง จึงมิได้หมายความว่าฟิล์มตัวนั้นจะลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้สูง เพราะรังสีอินฟราเรดเป็นเพียงส่วนประกอบ (ประมาณ 50%)  ส่วนหนึ่งของพลังงานของแสงอาทิตย์เท่านั้น ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าแต่รู้สึกได้จากความร้อน ฉะนั้นแล้วฟิล์ที่กันความร้อนที่ดี ต้องสามารถป้องกันได้ทั้ง 2  ส่วน นั่นก็คือ ค่าการลดความร้อนรวมจากแสงอาทิตย์  (Total Solar Energy Rejected) จะได้ค่าที่ถูกต้อง

ดังนั้นหากนำฟิล์มกรองแสงมาทดสอบค่าการลดปริมาณความร้อนจากแสงสปอร์ตไลท์ หรื อแสงจากรังสีอินฟาเรดจะให้ค่าสูงกว่จากแสงอาทิตย์ เพราะแสงสปอร์ตไลท์รวมทั้งแสงจากหลอดรังสีอินฟาเรด มีปริมาณรังสีอินฟราเรดสูงกว่าในแสงอาิตย์มาก โดยทั้วไปฟิล์มที่มีคุณภาพดีเยี่ยมจะป้องกันรังสีอินฟราเรดได้มากกว่า 90% อยู่แล้ว

ส่วนการทดสอบปริมาณความร้อน (ซึงมีค่า %  ลดรังสีอินฟราเรดรวมกับค่า % การลดความร้อนรวมจากแสงสว่าง)  ควรวัดจากแสงแดดโดยตรงจะได้ผลที่ถูกต้องกว่าการวัดปริมาณความอนจากไฟสปอร์ตไลท์ เนื่องจากแหล่งกำเนิดความร้อนทั้งสองที่ มีส่วนประกอบที่แตกต่างกัน
ฟิล์มกรองแสงจำเป็นสำหรับเมืองไทย แต่ต้องเลือกติดฟิล์มที่คุ้มค่าราคาสมเหตุสมผล และต้องไม่สะท้อนมากเกินไป ที่สำคัญต้องมีการรับประกันคุณภาพอย่างชัดเจนทั้งเงื่อนไขและระยะเวลาการรับประกัน

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โทรเบอร์ออฟฟิศ : 02-889-7350
โทรเบอร์แฟกซ์ : 02-889-7315
โทรเบอร์มือถือ : 099-635-9424  , 081-735-9512
ID LINE : 0996359424 
FANPAGE  จิรายุฟิล์มและผ้าม่าน
FACEBOOK : JIRAYU
WEBSITE : WWW. ฟิล์มอาคาร.COM