รับติดฟิล์มอาคาร ฟิล์มนิรภัย ฟิล์มตกแต่งภายใน ฟิล์มฝ้าขาวขุ่น

จิรายุฟิล์มและผ้าม่าน - 2015 ผู้เชี่ยวชาญด้านการติดตั้งฟิล์มอาคาร บ้าน คอนโด
รับติดฟิล์มบ้าน รับติดฟิล์มอาคาร รับติดฟิล์มคอนโด และ สติกเกอร์ฝ้า ทุกยี่ห้อ
บริการผ้าม่าน รับติดตั้งผ้าม่านทุกเเบบ ม่านม้วน ม่านจีบ ม่านโปร่ง กันเเดด กันยูวี

เกล็ดความรู้เกี่ยวกับฟิล์มกรองแสง

ฟิล์มกรองแสงคืออะไร?

ฟิล์มกรองแสงลดความร้อน ผลิตจากพลาสติกโพลีเอสเตอร์ที่มีคุณสมบัติเหนียว ใส เรียบ ยืดหยุ่นน้อย ไม่ดูดซับความชื้น มีความทนทานต่อสภาพอากาศทั้งสูงและต่ำได้เป็นอย่างดี ในเนื้อฟิล์มกรองแสง จะมีวัสดุที่ใช้เพื่อป้องกันความร้อนและรังสียูวี โดยใช้เทคโนโลยี ในการผลิตเป็นชิ้นๆ ผสานด้วยกาวพิเศษเพื่อการยึดเกาะได้อย่างเหนียวแน่น ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าว จึงเหมาะที่จะนำไปเป็น ฟิล์มอาคาร ฟิล์มคอนโด ฟิล์มโรงแรม ฟิล์มรีสอร์ท ฟิล์มสำนักงาน ฟิล์มที่พักอาศัยและฟิล์มติดกระจกในสถานที่ต่างๆ

ความหนา (Thickness)  |  ความหนาของฟิล์มจะมีหน่วยวัดเป็น MIL (มิว) โดย 1 MIL = 0.001 นิ้ว ( 1/1000 นิ้ว)   ความหนาของฟิล์มกรองแสงจะอยู่ระหว่าง 1.5-2.0 มิล. (.0015-.0020 นิ้ว) 


  • ฟิล์มเข้ม 80 คือฟิล์มที่ยอมให้แสงส่องผ่าน ( VLT ) ได้ประมาณ 5 %
  • ฟิล์มเข้ม 60 คือฟิล์มที่ยอมให้แสงส่องผ่าน ( VLT ) ได้ประมาณ 20 %
  • ฟิล์มเข้ม 40 คือฟิล์มที่ยอมให้แสงส่องผ่าน ( VLT ) ได้ประมาณ 40-50 %
    **และถ้าใสกว่านี้โดยทั่วไปก็จะเรียกว่าฟิล์มใส
  • ค่าแสงส่องผ่าน (Visible Light Trasmittance) ค่า VLT สูง = สามารถส่องผ่านได้มาก = ทำให้ห้องสว่าง
  • การสะท้อนของแสง (Visible Light Reflectance) ค่า VLR สูง = มีปริมาณปรอทมาก = แสงสะท้อนได้มาก = สามารถลดความร้อนดี
  • การป้องกันความร้อน (Infrared Light Rejection) ค่า IR สูง = สามารถลดความร้อนดี
  • การลดรังสียูวี (UV Rejection) โดยปกติฟิล์มทุกชนิดจะสามารถป้องกัน UV ได้เท่ากันคือ 99%

    หลายๆ คนยังเข้าใจผิดๆว่า ฟิล์มที่มีสีเข้มหรือทึบ ช่วยลดความร้อนได้ดี ในความจริงแล้ว สีหรือความทึบของฟิล์มกรองแสงไม่ได้เป็นตัวช่วยลดความร้อน แต่กลับเป็นสารเคลือบตัวอื่นๆ ที่ทำหน้าที่หลักนี้ต่างหาก 

    ส่วนประกอบของความร้อนที่เราได้รับนั้นมีสัดส่วนและแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
    1. ความสว่างของแสงมีสัดส่วน 44%
    2. รังสีอินฟาเรด (รังสีใต้แดด) มีอยู่ 53%
    3. รังสียูวี (รังสีเหนือม่วง,รังสีอุลตร้าไวโอเลต) มีอยู่ 3%

    ดังนั้นฟิล์มกรองแสงที่สามารถลดความร้อนได้ดีควรจะลดรังสีทั้ง 3 ส่วนได้มากๆ
    ตัวอย่างเช่น หากท่านติดฟิล์มกรองแสงที่มีความทึบแสงมากๆ แต่ฟิล์มกรองแสงนั้นๆ เป็นประเภทฟิล์มย้อมสีหรือเป็นฟิล์มกรองแสงที่ไม่ได้มีส่วนผสมของโลหะหรือ สารพิเศษใดๆ ท่านจะรู้สึกถึงความร้อนที่ผ่านชั้นผิวของฟิล์มกรองแสงเข้ามา นั่นก็คือฟิล์มกรองแสงนั้นๆสามารถลดได้แค่ความสว่างของแสงที่มีสัดส่วนอยู่ 44% แต่รังสีอินฟาเรดยังสามารถผ่านทะลุเข้ามาได้จนรู้สึกถึงความร้อน ในทางกลับกันหากท่านติดฟิล์มกรองแสงที่มีส่วนผสมพิเศษไม่ว่าจะเป็นส่วนผสม ของโลหะหรืออื่นๆ แต่ฟิล์มกรองแสงนั้นๆ มีค่าความทึบแสงน้อย(แสงส่องผ่านเข้าไปได้เยอะ) ท่านก็จะรู้สึกถึงความร้อนจากความสว่างของแสงที่ส่องผ่านฟิล์มกรองแสงเข้ามา ส่วนรังสียูวีนั้นเป็นส่วนประกอบน้อยมากของความร้อน (3%) ซึ่งฟิล์มกรองแสงเกือบทั้งหมดสามารถลดรังสียูวีได้มากกว่า 99% อยู่แล้ว

ส่วนประกอบของความร้อน

ฟิลม์กรองเเสงเป็นวัสดุที่ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อใช้ในการควบคุมพลังงานความร้อนจากเเสงอาทิตย์ ผลิตจากพลาสติกชนิดหนึ่งซึ่งทำจากเเผ่นโพลีเอสเตอร์ต่างๆ (PVDG, Tedlar Foils Metallized Film, Acetate, PET,Polyolefins and Polycarbonates) โดยใช้เทคโนโลยีในการเคลือบชั้นฟิล์ม ต่างๆกันเช่น สี,โลหะ, กาว, สารกันรอยขีดข่วน, สารดูดซับรังสี uv ซึ่งเเผ่นโพลีเอสเตอร์เป็นวัสดุที่เหมาะต่อการผลิตฟิล์มเนื่องจากมีความเหนียว ทนทาน ยืดหยุ่นน้อย ดูดซับความชื้นน้อย เเละสามารถทนอุณหภูมิได้ทั้งสูงต่ำ ซึ่งเหมาะสำหรับการนำไปใช้เป็น ฟิล์มอาคาร ฟิล์มคอนโด ฟิล์มที่พักอาศัย และฟิล์มกระจกในที่ต่าง ๆ
ส่วนประกอบของความร้อนที่เราได้รับนั้นมีสัดส่วนและแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ 
- ความสว่างของแสงมีสัดส่วน 44%
- รังสีอินฟาเรด (รังสีใต้แดด) มีอยู่ 53%
- รังสียูวี (รังสีเหนือม่วง,รังสีอุลตร้าไวโอเลต) มีอยู่ 3%
สาเหตุที่ติดฟิล์มกรองแสงกันร้อน แล้วยังร้อน! เหตุผลเป็นเพราะฟิล์มกรองแสงทั่วไป กันความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้เพียงรังสี UV และแสงสว่าง (VL) เท่านั้น ซึ่งเป็นเพียง 44% ของความร้อนทั้งหมด ที่เหลือคือความร้อนจากรังสีอินฟราเรด(IR) ที่มีมากถึง 53% ดังนั้น เวลาเลือกฟิล์มกรองแสงที่กันร้อนได้จริง ต้องดูที่ค่ารังสีอินฟราเรด (IR) เป็นหลัก 


สนใจติดต่อสอบถาม

โทรศัพท์ : 02-889-7350
แฟกซ์ : 02-889-7315
มือถือ : 099-635-9424 (TRUE) , 081-735-9512 (AIS)
Fanpage : จิรายุฟิล์มและผ้าม่าน - 2015


ติดตามผลงานเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ >>http://www.ฟิล์มอาคาร.com