รับติดฟิล์มอาคาร ฟิล์มนิรภัย ฟิล์มตกแต่งภายใน ฟิล์มฝ้าขาวขุ่น

จิรายุฟิล์มและผ้าม่าน - 2015 ผู้เชี่ยวชาญด้านการติดตั้งฟิล์มอาคาร บ้าน คอนโด
รับติดฟิล์มบ้าน รับติดฟิล์มอาคาร รับติดฟิล์มคอนโด และ สติกเกอร์ฝ้า ทุกยี่ห้อ
บริการผ้าม่าน รับติดตั้งผ้าม่านทุกเเบบ ม่านม้วน ม่านจีบ ม่านโปร่ง กันเเดด กันยูวี

มาทำความรู้จักกับ "รังสีอินฟราเรด" กันเถอะค่ะ

อันตรายกว่ารังสี UV ก็คือ รังสีอินฟราเรด 
ศัตรูร้ายทำลายผิวเสีย

อันตรายจากแสงแดดที่มากกว่าแค่รังสี UV
       แสงอาทิตย์ที่ผ่านมายังโลก ประกอบด้วยคลื่นพลังงานแม่เหล็กหลากหลายความยาวคลื่นด้วยกัน ขณะที่แสงเดินทางผ่านเข้ามาสู่ชั้นบรรยากาศของโลก คลื่นพลังงานบางช่วงความยาวจะถูดูดซับหรือสะท้อนกลับ โดยรังสีที่ผ่านลงมาสู่พื้นผิวโลก ประกอบด้วย รังสีอัลตราไวโอเลด (Ultraviolet, UV) แบ่งเป็น UVA, UVB และ UVC แต่โอโซนในบรรยากาศได้กรอง UVC ออกไป ทำให้พบเฉพาะ UVA 90% และ UVB เท่านั้นบนพื้นผิวโลก, แสงที่มองเห็นได้ (Visible light) และ รังสีอินฟราเรด (Infrared)

รังสีอินฟราเรดคืออะไร 
       รังสีอินฟราเรด หรือ รังสีความร้อน เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่แผ่มาจากดวงอาทิตย์ เป็นรังสีที่มีแหล่งกำเนิดมาจากความร้อน รังสีอินฟราเรดเป็นรังสีที่มีพลังงานน้อยแต่ให้ความร้อนสูง จึงมีอีกหนึ่งชื่อเรียกว่า คลื่นความร้อน โดยเราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา แต่เมื่อรับสัมผัสรังสีเราจะรับรู้ได้ด้วยความร้อน สำหรับรังสีอินฟราเรดนั้นมีความยาวคลื่นอยู่ ในช่วง 0.75 ไมโครเมตร- 1 มิลลิเมตร เป็นคลื่นที่มีความยาวคลื่นที่ยาวกว่าแสงสีแดงที่ตาสามารถมองเห็นได้ แต่ก็รู้สึกถึงความร้อนได้ ไม่ว่าจะเป็นเวลาเรารู้สึกร้อนจากแสงแดด หรือจากเปลวไฟ ล้วนแล้วแต่เป็นรังสีอินฟราเรดทั้งสิ้น 


รังสีอินฟราเรด สามารถแบ่งช่วงความยาวคลื่นได้เป็น 3 ช่วงคือ
  1. รังสีอินฟราเรดคลื่นสั้น (Near Infrared; IR-A) มีความยาวคลื่นประมาณ 0.75 ไมโครเมตรจนถึง 1.5 ไมโครเมตร มักจะประยุกต์ใช้ในงานถ่ายภาพความร้อน และถือเป็นช่วงรังสีที่สามารถทะลุผ่านชั้นผิวหนังได้ลึกที่สุด ใน 3 ช่วงความยาวคลื่นนี้
  2. รังสีอินฟราเรดคลื่นกลาง (Medium Infrared; IR-B) มีความยาวคลื่นประมาณ 1.5 ไมโครเมตรจนถึง 5.6 ไมโครเมตร โดยมักประยุกต์ใช้กับระบบนาวิถีของจรวด Missile 
  3. รังสีอินฟราเรดคลื่นยาว (Far Infrared; IR-C) มีความยาวคลื่นประมาณ 5.6 ไมโครเมตรขึ้นไป รังสีในช่วงคลื่นยาวนี้จะมีพลังงานความร้อนไม่มากนัก จึงนิยมใช้ในการบำบัดผู้ป่วย เช่น อาการปวดเมื่อยเรื้อรัง และผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิต เป็นต้น 

รังสีอินฟราเรดส่งผลเสียอะไรต่อผิวของเราบ้าง
  • ปัญหาผิวหมองคล้ำ, สีผิวไม่สม่ำเสมอ, การสร้างเม็ดสีผิดปกติ
  • ปัญหาริ้วรอย เหี่ยวย่นแก่ก่อนวัย 
  • ผิวหนังสูญเสียความยืดหยุ่น 
  • มะเร็งผิวหนัง
รังสีอินฟราเรดจัดเป็นรังสีที่อยู่ใกล้ตัวเรา และเราสัมผัสอยู่ตลอดเวลาโดยไม่รู้ตัว จากที่ทราบกันดีแล้วว่ารังสีอินฟราเรดจะแสดงออกมาในรูปแบบของความร้อน เมื่อเรารู้สึกร้อนเวลาโดนแสงแดดหรือเวลาเราอยู่ใกล้ไฟ นั่นเท่ากับว่าเราสัมผัสกับรังสีอินฟราเรดได้ แม้ว่าตาเราจะไม่สามารถมองเห็นรังสีอินฟราเรดได้ก็ตาม ไม่เพียงแต่รังสีจากแสงแดดเท่านั้น ในชีวิตประจำวันเราทุกคนสัมผัสรังสีอินฟราเรดได้จากเครื่องใช้ไฟฟ้าอีกมากมาย อาทิเช่น คอมพิวเตอร์ หลอดไฟชนิดทังสเตน Gadgets เตาอบ ไดร์เป่าผม เป็นต้น

แสงอาทิตย์ที่มีรังสีผ่านลงมาสู่พื้นผิวโลก โดยทั่วไปเรามักจะนึกถึงแต่อันตรายของรังสี UVA และ UVB “แต่ทราบหรือไม่ว่ากว่า 54% ของรังสีที่ตกกระทบมายังโลกคือ รังสีอินฟราเรด” เกินกว่าครึ่งของรังสีจากแสงอาทิตย์ที่ผ่านมายังโลกเป็นรังสีอินฟราเรด  ที่เหลือจะเป็น Visible Light ประมาณ 39% ส่วนรังสี UVA และ รังสี UVB มีเพียง 7% เท่านั้น

รังสีอินฟราเรด เป็นรังสีที่มีพลังงานน้อยแต่ให้ความร้อนสูง แต่ก็รู้สึกถึงความร้อนได้ ไม่ว่าจะเป็นเวลาเรารู้สึกร้อนจากแสงแดด หรือจากเปลวไฟ ล้วนแล้วแต่เป็นรังสีอินฟราเรดทั้งสิ้น ผิวหนังที่สัมผัสรังสีอินฟราเรดติดต่อกันเป็นเวลานาน จะสะสมเกิดความเสียหายและผลร้ายต่อผิวหนัง ได้แก่ ริ้วรอยลึก เหี่ยวย่นแก่ก่อนวัย ผิวหนังสูญเสียความยืดหยุ่น รวมถึงเกิดความหมองคล้ำ และที่น่ากลัวสุดคือ มะเร็งผิวหนัง

ควรเริ่มมองหาผลิตภัณฑ์กันแดด ที่มีค่าการปกป้องสูง ซึ่งไม่เพียงแต่ป้องกันรังสียูวี แต่สามารถปกป้องได้ครอบคลุมถึงรังสีอินฟราเรดได้ด้วย ก็จะทำให้ผิวของเราได้รับการปกป้องที่สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น และเป็นตัวช่วยง่าย ๆ แต่สำคัญมาก สำหรับการปกป้องผิวเราให้แกร่งสู้แดดและริ้วรอยลึกก่อนวัย 

** ฟิล์มกรองแสง จะช่วยลดความร้อนจากแสงแดด ลดรังสีอินฟราเรด และยังช่วยลดรังสียูวีได้ 99 % อีกด้วยนะคะ 

สนใจติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่...
โทรศัพท์ : 02-889-7350 แฟกซ์ : 02-889-7315
มือถือ : 099-635-9424 (TRUE) , 081-735-9512 (AIS)
Fanpage :
จิรายุฟิล์มและผ้าม่าน - 2015